เป็นเวลาสักพักแล้วที่ผู้บริโภคคาดหวังจะได้ติดต่อกับผู้ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร ผู้ค้าปลีก หมอ หรือสภาท้องถิ่น แต่สภานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยิ่งเพิ่มความต้องการนี้ไปอีกระดับ

ก่อนเกิดการแพร่ระบาด ลูกค้า 40% จะเข้าใช้บริการขององค์กรต่างๆตามร้านค้า หรือสาขาที่มีอยู่ทั่วไป เมื่อเกิดการล็อคดาวน์ทั่วโลกทำให้ร้านค้าและสาขามากมายต้องปิดตัวลง และผู้บริโภคก็ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน เปอร์เซ็นผู้ใช้บริการได้ลดลงไปถึง 26% แม้จะมีการคลายล็อคดาวน์แล้วบ้างก็ตาม เรื่องนี้เป็นแรงกระตุ้นให้องค์กรต่างๆทั่วทุกอุตสาหกรรม หันมาโฟกัสในการสร้างประสบการณ์การให้บริการผ่านทางออนไลน์ แอพพลิเคชั่น และสื่อดิจิทัลอื่นๆ เพื่อหาแนวทางใหม่ในการเพิ่มความมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค และเพิ่มการเติบโตของรายได้ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นผ่านการปรับใช้การวางระบบแบบใช้ซ้ำ

ถูกขัดขวางจากการวางระบบ

ความกดดันจึงตกมาที่แผนกไอที ที่ต้องขึ้นระบบเพื่อรองรับการบริการทางดิจิทัลให้ได้ อย่างไรก็ตามความต้องการของธุรกิจ และความคาดหวังของลูกค้าก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าทีมไอทีจะรับมือไหว จากการรายงานของ MuleSoft’s Connectivity Benchmark พบว่าโปรเจคโดยเฉลี่ยที่ทีมไอทีถูกขอให้จัดทำมีเพิ่มขึ้นถึง 40% ปีต่อปี ความกดดันยิ่งพอกพูนขี้นไปอีกเมื่อต้องเจอกับการวางระบบรุ่นเก่าที่ข้อมูลถูกล็อคไว้แบบแยกกันทั่วทั้งองค์กร ชะลอศักยภาพของทีมไอที ในการทำโปรเจคเปลี่ยนระบบเป็นดิจิทัล

จากรายงานเดียวกันพบว่า ผู้นำทีมไอทีกว่า 89% ชี้ว่า ข้อมูลที่แยกออกจากกัน ขัดขวางความคิดริเริ่มในการเปลี่ยนระบบเป็นดิจิทัล และอีก 85% ชี้ว่า ความท้าทายจากการวางระบบ คือ กำแพงขวางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ปัญหาเหล่านี้มีมานานก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่จากผลกระทบของธุรกิจที่หยุดชะงัก กับความต้องการการใช้งานระบบดิจิทัล ทีมไอทีจึงอยู่ในสงครามที่ท้าทาย เพื่อหาทางทำโปรเจคให้สำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น หากองค์กรต้องการประสบความสำเร็จในการสร้างประสบการณ์ทางดิจิทัลที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่จะช่วยคลายคอขวดของทีมไอที และเพิ่มเวลาให้พวกเขาได้ริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆมากขึ้น ขั้นแรกเราควรเริ่มจากการจัดวางระบบก่อนเร่งสปีดให้นวัตกรรมด้วยการวางระบบแบบใช้ซ้ำ

หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการใช้ API-led ที่ซึ่ง APIs ถูกใช้ในการเชื่อมแอพพลิเคชั่น และแหล่งข้อมูลขององค์กรเข้าด้วยกัน แทนที่การวางระบบแบบคู่ จากจุดนึงไปอีกจุดนึง ด้วยโมเดลนี้ การเชื่อมโยงระหว่างแอพพลิเคชั่นกับแหล่งข้อมูลจะถูกนำมาสร้างใหม่ เป็นเน็ตเวิร์ค ที่แสดงผลประสิทธิภาพและสินทรัพย์ที่มีในรูปแบบที่นำมาใช้ได้เลย และสามารถใช้ซ้ำได้ ดังนั้นทีมไอทีจะนำความสามารถใช้ซ้ำนี้มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ โดยที่ไม่ต้องเริ่มทำเองทั้งหมดตั้งแต่ต้นอย่างทุกครั้ง สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มเวลาให้ไอทีสร้างผลิตภัณฑ์และบริการได้ไวยิ่งขึ้น และหันไปโฟกัสกับการมอบประสบการณ์ทางดิจิทัลที่ลูกค้าและธุรกิจต้องการ

การวางระบบแบบใช้ซ้ำ คือ ปัญหาที่ทั่วทั้งธุรกิจต้องแก้ไข

API-led ช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาความท้าทายของการวางระบบ และปัญหาอื่นๆที่มองไม่เห็น ไม่เพียงแต่กับแผนกไอที แต่ทั่วทั้งธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยเสริมให้เกิดนวัตกรรมครั้งใหญ่ จากการเรียกรวมกันเป็นวงกว้างระหว่างกลุ่มอื่นๆทั่วทั้งองค์กร เช่น นักวิเคราะห์ธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และทีมสนับสนุนลูกค้า

การเปิดเผยข้อมูล ประสิทธิภาพ และแหล่งที่มาที่สามารถนำมาใช้งาน และใช้ซ้ำได้ผ่านทางระบบ APIs องค์กรจะเพิ่มอำนาจแก่ทีมที่ไม่ใช่ไอที ให้มีความเสมอภาคทางความสามรถ และทำโปรเจคดิจิทัลของตัวเองได้ ทีมเหล่านี้สามารถสร้างนวัตกรรมในรูปแบบของตัวเองจากโปรแกรมที่มีอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเลยสักบรรทัด

วิธีนี้ทำให้นวัตกรรมถูกกระจายอย่างเท่าเทียมไปยังทั่วทั้งองค์กร ช่วยคลายคอขวดให้กับแผนกไอที และเพิ่มอิสระในการให้บริการทางดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆแก่ลูกค้า

จากการวางระบบสู่การสร้างนวัตกรรม

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังมีผลกระทบต่อความคาดหวังของลูกค้าและอุตสาหกรรม ธุรกิจทั้งหลายจะต้องตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นนี้ให้ทัน เพื่อมอบประสบการณ์ทางดิจิทัลที่ไร้รอยต่อ แทนที่จะเพิ่มความกดดันแก่ทีมไอที องค์กรควรจะช่วยเพิ่มเวลาว่างให้พวกเขาด้วยการกระจายความรับผิดชอบต่อนวัตกรรมนี้แก่ทุกๆทีม

การวางระบบ API เพื่อขับเคลื่อนการใช้ซ้ำและสร้างนวัตกรรมไปทั่วทุกที่ ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับองค์กรในการมอบประสบการณ์ทางดิจิทัลที่มีคุณค่า ให้ลูกค้ายังคงต้องการได้รับทั้งหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 และในอนาคตต่อไป

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ MuleSoft เพิ่มเติมได้ที่ www.beryl8.com/th/contact-us