แม้จะมี Task Management Tools อยู่หลากหลายเจ้าในตลาด แต่ Smartsheet ก็ยังได้รับความสนใจจากบริษัทต่างๆ มากมาย นี่คือวิธีการทำงานของ Smartsheet แอพพลิเคชั่นคลาวด์เบสและเหตุผลที่เป็นที่นิยม

Smartsheet คือ อุปกรณ์การจัดการงานแบบเสปรดชีทที่สามารถปรับแต่งได้ และใช้สำหรับติดตามความคืบหน้าของโปรเจคในทีมต่างๆ ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2006 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 9 ล้านคน (และมีผู้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายเกือบ 1 ล้านคน) นอกจากนี้ ยังถูกนำไปปรับใช้ในบริษัทเกือบ 100,000 บริษัทด้วยกัน ตั้งแต่ Google และ Netflix ไปจนถึง สำนักบริหารงานบริการทั่วไปแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US General Services Administration)

ความสำเร็จนี้วางรากฐานมาจากความสามารถในการดึงดูดสายตาจากผู้ใช้งานหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะผู้จัดการโครงการ, คริส มาร์ช, ผู้อำนวยการวิจัยแห่ง 451 Research ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้บริการข้อมูลอย่าง S&P Global Market Intelligence กล่าว สำหรับ Bellevue, Wash.-based Smartsheet สิ่งนี้หมายถึงการรวมกันของฟอร์แมตเสปรดชีทที่คุ้นตากันอยู่แล้วมารวมเข้ากับการจัดการที่เข้มข้นยิ่งขึ้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับทีมอื่น ๆ

“สิ่งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้นำทางธุรกิจและทีมงานเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะระบุกรณีใช้งานที่แตกต่างกันได้…โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโครงการหรือนักวิเคราะห์ธุรกิจเลย”  คริส มาร์ช กล่าวไว้ในการให้สัมภาษณ์ที่ผ่านมา

Smartsheet ทำงานอย่างไร?

การทำงานใน Smartsheet จะมุ่งเน้นไปที่ “ชีท” ที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรเจคใดโปรเจคหนึ่ง หรือโปรเจคโดยทั่ว ๆ ไปเอาไว้

ผู้ใช้งานสามารถออกแบบรายงาน ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายชีทได้เอง ทำให้เห็นภาพรวมของกิจกรรมการขายในทีม เป็นต้น และยังสามารถสร้างแดชบอร์ดขึ้นเพื่อแสดงภาพรวมระดับสูงของข้อมูลภายในชีทร่วมกับวิดเจ็ตต่างๆ อย่างเช่น แผนภูมิ เมตริก และรายงาน นอกจากนี้ Smartsheet ยังสามารถประสานรวมกับแอพพลิเคชั่นสำหรับการทำงานร่วมกัน, แอพพลิเคชั่นเพิ่มประสิทธิภาพงาน และแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจอื่น ๆ รวมไปถึง Microsoft Teams, Google Workspace, Atlassian Jira, ServiceNow, และ Salesforce

Smartsheet สามารถตั้งค่ารูปแบบการทำงานแบบอัตโนมัติได้ด้วยทริกเกอร์ และแอคชั่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น กระบวนการอนุมัติหลายขั้นตอน หรือ การแจ้งเตือนวันใกล้ถึงกำหนดส่งงานแก่ผู้ร่วมงานผ่าน Slack

Smartsheet ยังให้บริการ WorkApps บนแพลตฟอร์มแบบไม่ต้องเข้ารหัส ในปี 2020 WorkApps เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานสร้างแอพพลิเคชั่นแบบง่าย ๆ โดยการบรรจุข้อมูลจากชีท, แบบฟอร์ม, และแดชบอร์ดลงบนอินเตอร์เฟสที่เรียบง่าย

การตั้งราคา Smartsheet

แม้ว่า Smartsheet จะมีระบบให้ทดลองใช้ฟรี 30 วัน แต่จะไม่รวมตัวเลือกแบบฟรีเมียม ทุกระดับการใช้งานจะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน หรือ รายปี สำหรับการใช้งานระดับโปรสมาชิกรายบุคคลมีค่าใช้จ่ายเพียง 7 ดอลลาร์/เดือน (เมื่อสมัครแบบเรียกเก็บรายปี) ซึ่งครอบคลุมการใช้งาน “วิว” ในทุกชีท, การทำรูปแบบการทำงานเป็นอัตโนมัติ, WorkApps (เข้าถึงได้เท่านั้น), และฟีเจอร์อื่นๆ แต่จะมีข้อจำกัดในปริมาณชีท, รายงาน และแดชบอร์ด

ระดับธุรกิจ มีค่าใช้จ่าย 25 ดอลลาร์/เดือน เพิ่มปริมาณชีทที่เข้าถึงได้ 100 ชีทต่อคน ไม่มีข้อจำกัดบนบอร์ดและรายงาน และมอบฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น การออกแบบตามแบรนด์ได้เอง

ระดับองค์กร สามารถต่อรองแผนค่าใช้จ่ายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งานและความต้องการเฉพาะต่าง ๆ มีสิทธิ์เข้าถึงการควบคุมของผู้ดูแลระบบได้อย่างเต็มรูปแบบ อย่างเช่น  Single Sign-On และ การควบคุมการเข้าถึงขององค์กร และออกแบบ WorkApps เองได้

และที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้กับ Smartsheet Advance แผนการตั้งราคาแพคใหม่ ที่ทำให้ลูกค้าระดับองค์กรสามารถใช้งานได้แบบ Advance มากขึ้น ประกอบไปด้ว 3 ระดับ: Silver, Gold และ Platinum มอบสิทธิ์ในการเข้าถึงฟีเจอร์เพิ่มเติมอีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงการจัดการแบบละเอียดบนข้อมูลที่แชร์ และความสามารถในการอัพโหลดข้อมูล, ซิงค์, และแชร์ข้อมูล Smartsheet กับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจอย่างเช่น Salesforce และ Microsoft Dynamics 365

อนาคตของ Smartsheet ?

แม้ว่า Smartsheet จะมีความคล้ายคลึงกับแอพพลิเคชั่นสำหรับจัดการโครงการแบบดั้งเดิมอยู่มากก็ตาม แต่ก็เป็นเครื่องมือการจัดการงานหนึ่งของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมเทียบเท่า Airtable, Asana, Monday.com, Workfront, และ Wrike อีกทั้งยังเผชิญหน้าคู่แข่งจากสายเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกันอย่าง Microsoft และ Google อีกด้วย

Smartsheet ถูกจัดให้อยู่ระดับสูงในรายงานล่าสุดของบริษัทวิเคราะห์ Forrester ในหมวดเครื่องมือสำหรับใช้งานร่วมกัน “Forrester Wave: Collaborative Work Management Tools, Q4 2020,” ด้วยคะแนนอันดับต้น ๆ ในด้านความสามารถรูปแบบอัตโนมัติ อีกทั้งวิสัยทัศน์และ roadmap ในตัวผลิตภัณฑ์ของ smartsheet ก็ถือเป็นจุดแข็งด้วยเช่นกัน

Smartsheet ได้มีการยื่นขอ IPO ในปี 2018 ระดมทุนได้ 150 ล้านดอลลาร์ นั่นจึงทำให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ด้วยแรงฉุดจากองค์กรทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่หลากหลาย มีรายรับพุ่งสูงถึง 385.5 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2021 เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีข้อตกลงลูกค้ารายบุคคลรายใหญ่ที่สุดมูลค่ามากกว่า 3 ล้านดอลลาร์ ผลประกอบการรายไตรมาสล่าสุดของบริษัทแสดงให้เห็นว่าในบรรดาลูกค้าที่ใช้จ่าย 100,000 ดอลลาร์ต่อปีนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 68% ซึ่งบ่งชี้ถึงการใช้งานที่กว้างขวางภายในองค์กร

ในส่วนของพนักงาน Smartsheet  ก็มีการขยับขยายจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,100 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีเพียง 460 คน

อีกสัญญาณการเติบโตของธุรกิจ คือ Smartsheet จะกลายเป็นผู้เข้าซื้อกิจการมากขึ้น โดยมีการซื้อบริษัท 4 แห่ง ตั้งแต่ยื่น IPO รวมถึง Brandfolder ผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์การจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลในราคา 155 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่ผ่านมา

ต้องการขอมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Smartsheet ติดต่อเราได้ที่นี่ คลิก